ประเพณีวิ่งควาย

“ประเพณีวิ่งควาย” ประเพณีประจำท้องถิ่นอันขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรี ประเพณีดังกล่าวมีการปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ประเพณีนี้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลา100 กว่าปีมาแล้ว เรียกได้ว่าไม่มีคนชลบุรีคนใดที่จะไม่รู้จักประเพณีวิ่งควาย มีต้นกำเนิดประเพณีมาจากความเชื่อของชาวบ้าน ว่าถ้าหากควายของตนเจ็บป่วยจะต้องนำไปบนกับเทพารักษ์ และถ้าควายของตนหายป่วยแล้วจะต้องนำควายไปวิ่งแก้บน ในปีต่อๆมาชาวบ้านจึงนำควายออกมาวิ่งตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อป้องกันไม่ให้ควายของตนต้องเจ็บป่วย

อีกทั้งยังเชื่อกันว่าถ้าปีไหนไม่นำควายออกมาวิ่งจะมีโรคระบาดเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการวัดความแข็งแรงของควายว่าควายของใครมีความแข็งแรงมากกว่ากัน อีกทั้งยังเป็นการประชันโฉมความสวยงามของควายแต่ละตัวไปในตัว โดยประเพณีนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มักจะจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งก็คือวันก่อนออกพรรษา 1 วัน

การจัดประเพณีดังกล่าวก็เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากที่ทำนามาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นการแสดงความกตัญญูต่อควายที่มีบุญคุณต่อชาวนา และยังเป็นวันที่ชาวบ้านจะได้มาพบปะ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนานด้วย 

ในปัจจุบันนี้มีขั้นตอนในการดำเนินประเพณีคือ เจ้าของควายจะตกแต่งควายของตนเองอย่างวิจิตรงดงามด้วยดอกไม้ ผ้าแพรหลากสี เหมือนเป็นการแต่งตัวให้ควาย ซึ่งมีการตกแต่งควายในหลายแบบมาก ไม่ว่าจะเป็นแต่งแบบอินเดียแดง แต่งแบบชาวเขา แต่งแบบเจ้าหญิงเจ้าชาย เป็นต้น แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าของควาย

เมื่อเสร็จแล้วเจ้าของก็จะนำควายของตนเองไปวิ่งแข่งกัน โดยเจ้าของจะทำหน้าที่เป็นผู้ขี่หลังควายเพื่อควบคุมควายไปด้วย ระหว่างที่ขี่หลังควายก็อาจจะสร้างความสนุกสนานด้วยท่าทางการขี่หลังควายที่แปลกๆ หรืออาจจะมีกรณีที่เจ้าของลื่นตกจากหลังควายก็สร้างความตลกขบขันให้แก่ผู้ชมได้อย่างมาก และปัจจุบันได้มีการเพิ่มการประกวดสุขภาพของควาย ประกวดการแต่งตัวควายเพิ่มมาด้วย เพื่อจะสร้างบรรยากาศงานประเพณีให้มีความครื้นเครงสนุกสนานยิ่งขึ้น

ถึงแม้ประเพณีวิ่งควายจะมีการเพิ่มการประกวดต่างๆเข้ามาเพื่อสร้างความสนุกสนานยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไร วัตถุประสงค์ของการจัดประเพณีวิ่งควายขึ้นมาก็ยังไม่เสื่อมคลาย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อควายที่ช่วยทำนามาหลายวันหลายเดือน เพื่อแสดงความสำนึกบุญคุณต่อควายที่ช่วยให้ชาวนาได้มีผลผลิตออกไปขาย ให้ได้มีเงินมีกินมีใช้

และให้ควายของตนได้สนุกสนานพักผ่อนบ้าง ได้แต่งตัวสวยๆงามๆ เพื่อสร้างความสุขให้ควายไปในตัว และยังเป็นเหมือนการแสดงความสามัคคีและความรักของคนที่มีต่อควาย รวมถึงความรักต่อควายที่มีต่อเจ้าของด้วย เพราะเหตุผลเหล่านี้เองจึงทำให้ประเพณีวิ่งควายยังมีการสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอยู่สืบไป

 

สนับสนุนโดย  ทางเข้า ufabet ภาษาไทย